พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
พระร่วงนั่งหลัง...
พระร่วงนั่งหลังลิ่ม กรุช้างล้อม(ติดรางวัลประกวดพระเครื่อง)
พระร่วงนั่งหลังลิ่ม วัดช้างล้อม จ.สุโขทัย
"เก่า โบราณ ไม่ทันสมัย" เป็นคำจำกัดความของคนที่มักนิยมในความมาใหม่ แฟชั่นอินเทรนด์ หรือคนที่รักในกระแสนิยมตามสังคมภายนอก ซึ่งถ้ามองให้ลึกซึ้งแล้วนั้น ในการผลิตงานทุกสาขาใหม่ๆ นั้นได้มีการพัฒนาขึ้นจากงานเก่าที่คนรุ่นก่อนได้สร้างสรรค์ไว้แทบทั้งหมด
แล้วยิ่งถ้าได้เจาะลึกลงไปอีกจะทราบว่า กว่าที่คนรุ่นเก่านั้นจะผลิตอะไรขึ้นสักอย่างหนึ่งนั้นต้องใช้ระยะเวลาสร้างสรรค์ทบทวนอย่างประณีตเป็นที่สุด กว่าจะออกมาเป็นชิ้นงานนั้นๆ ได้ เปรียบกับวงการพระเครื่องในปัจจุบัน ที่ความนิยมในพระเครื่องนั้น ขยายวงกว้างไปอย่างมากมาย
แต่หลายๆ คนกลับเห็นว่า พระเครื่องพระกรุ พระเกจิเก่า นั้น ไม่มีคุณค่าน่าสะสม จนแทบเรียกได้ว่า พระกรุ พระเกจิเก่า ไม่ถูกกล่าวถึงในช่วงนี้ แม้กระทั่งตัวของผู้เขียนเอง ช่วงนี้ก็แทบไม่ได้สัมผัสกับพระกรุ พระเกจิยุคเก่าเลย จนกระทั่งไม่นานที่ผ่านมา ได้มีนักนิยมพระเครื่องท่านหนึ่ง ได้นำพระกรุองค์หนึ่งมาให้ผู้เขียนช่วยดู และตรวจสอบว่าแท้หรือปลอม
เมื่อผู้เขียนได้เห็นพระองค์นั้นก็ตอบไปตามจริงทันทีว่า เป็นพระแท้ ดูง่าย มีความงดงามพอประมาณ และด้วยความอยากได้ จึงขอเช่าต่อจากนักสะสมท่านนั้นทันที แต่ก็ได้รับคำปฏิเสธทันทีเหมือนกัน เพราะเป็นของที่บิดาของเขาให้มา พร้อมกำชับมาอย่างดีว่า เคยรอดจากการถูกไล่ยิง เพราะหลวงพ่อองค์นี้คุ้มครอง ต้องเก็บรักษาให้ดีด้วย
พระเครื่องที่ผู้เขียนได้ดูในวันนั้น มีขนาดที่กะทัดรัด กำลังแขวน สัดส่วนสวยงาม และถูกพบจากการที่เป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่งของกรุงสุโขทัย พระองค์นั้นคือ "พระร่วงนั่งหลังลิ่ม" วัดช้างล้อม อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย
พระร่วงนั่งหลังลิ่ม เป็นพระเครื่องขนาดกะทัดรัด มีความสูงประมาณ ๓.๕ ซม. กว้างประมาณ ๒.๕ ซม. มีพุทธลักษณะเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัยบนอาสนะแบบฐานเขียง สร้างในแบบศิลปะอู่ทองยุคต้น (อู่ทองหน้าแก่) ซึ่งแสดงออกถึงความเคร่งขรึม สงบนิ่ง และมีมิติสัดส่วนขององค์พระอย่างชัดเจน โดยเป็นที่ยกย่องอยู่ประจำว่า ศิลปะอู่ทองยุคต้นนั้นมีความงดงามแบบคลาสสิกมากยุคหนึ่งของไทย ทำให้รูปลักษณะของพระร่วงนั่งหลังลิ่มนั้น เป็นพระเครื่องที่มีมิติความงดงามคลาสสิกมาก
ในด้านหลังของพระร่วงนั่งหลังลิ่มนั้นจะปรากฏเป็นร่องลิ่มกดลึกลงไปในองค์พระ อันเป็นที่มาของชื่อ "พระร่วงนั่งหลังลิ่ม" และจุดสังเกตที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งนั้น นอกจะปรากฏเป็นร่องลึกให้เห็นแล้วนั้น ยังปรากฏรอยทิวยาววิ่งเป็นแนวตามส่วนสูงพระปรากฏให้เห็นชัด จึงสันนิษฐานได้แน่ว่า แม่พิมพ์ด้านหลังที่ทำให้เกิดร่องลิ่มนั้น น่าจะเกิดจากการแกะแม่พิมพ์จากไม้ จึงปรากฏร่องรอยทิวไม้ให้เห็นอย่างชัดเจน
พระร่วงหลังลิ่มนี้ นอกจากจะพบแบบที่หลังเป็นร่องลิ่มแล้วนั้น ยังพบที่ด้านหลังเป็นแบบเรียบๆ อีกด้วย เราเรียกว่า "พระร่วงนั่งหลังตัน" พระทั้งสองแบบนี้ เราพบว่าสร้างจากเนื้อชินเงินเพียงเนื้อเดียว
พระร่วงนั่งหลังลิ่มนี้ เป็นหนึ่งในพระกรุ พระเก่า ที่มีขนาดและศิลปะที่พอเหมาะและงดงามมาก พร้อมทั้งพุทธคุณที่ปรากฏให้พบเห็น หรือเล่าสู่กันฟังอย่างมากมาย ทั้งพุทธคุณเด่นดังทางเมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี และแคล้วคลาด ปลอดภัย จนทำให้ในปัจจุบันนี้โอกาสที่จะพบเห็น พระร่วงนั่งหลังลิ่มสักองค์หนึ่ง ต้องใช้ระยะเวลาที่นานมากเลยทีเดียว ปัจจุบันเป็นพระที่หายาก สวยๆ สนนราคาอยู่ที่หลักแสนต้นๆ แต่ก็รับรองเลยได้ว่าคุ้มค่าที่ได้เจออย่างแน่นอนครับ
ช้างล้อมเจดีย์

วัดช้างล้อม เป็นโบราณสถานสำคัญ ตั้งอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย มีเจดีย์ทรงลังกาที่ตั้งอยู่บนฐานประทักษิณรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีช้างปูนปั้นเต็มตัวล้อมรอบ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อโดยรอบฐานทั้ง ๔ ด้าน รวม ๓๙ เชือก หมายถึง โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ซึ่งเป็นธรรมอันเป็นเครื่องหมายการตรัสรู้ ประกอบกับวิมุตติ ๒ ประการ
เจดีย์ประธานทรงลังกาขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนฐานประทักษิณรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกันหลายชั้น มีทางเดินเป็นบันไดขึ้นไปยังชั้นบน โดยรอบเจดีย์มีช้างปูนปั้นเต็มตัวประดับโดยรอบฐานทั้ง ๔ ด้าน ด้านละ ๙ เชือก (ยกเว้นด้านหนึ่งซึ่งเป็นบันไดทางขึ้นมีเพียง ๘ เชือก) และที่มุมมีช้างขนาดใหญ่ประดับอีก ๔ เชือก รวมเป็น ๓๙ เชือก ช้างเชือกใหญ่ที่อยู่มุมเจดีย์ เป็นช้างทรงเครื่อง มีลวดลายปูนปั้นประดับที่คอ และข้อเท้าสวยงามกว่าช้างที่ฐานสี่เหลี่ยม ระหว่างช้างปูนปั้นที่ฐานนั้นจะมีเสาประทีปศิลาแลงสลับเป็นระยะ ด้านหน้าช้างแต่ละเชือกจะมีพุ่มดอกบัวตูมปูนปั้นวางตั้งอยู่
ปูนปั้นที่วัดช้างล้อมเมืองศรีสัชนาลัยมีลักษณะเด่นกว่าช้างปูนปั้นที่วัดอื่นๆ คือ ยืนเต็มตัว แยกออกจากผนัง มีขนาดสูงใหญ่กว่าช้างจริง นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่า วัดช้างล้อมนี้น่าจะเป็นวัดเดียวกันที่กล่าวในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่า ใน พ.ศ.๑๘๙๒ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชให้ขุดเอาพระธาตุขึ้นมาบูชา และเฉลิมฉลอง หลังจากนั้นจึงฝังลงกลางเมืองศรีสัชนาลัย และก่อพระเจดีย์ทับลงไป ด้านหน้าเจดีย์ประธานมีบันไดขึ้นสู่ลานประทักษิณ เหนือฐานประทักษิณมีซุ้มพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย ๒๐ ซุ้ม แต่คงเหลือเพียงองค์เดียวด้านทิศเหนือ เหนือบริเวณองค์ระฆังขึ้นไปเป็นบัลลังก์ก้านฉัตร ประดับด้วยพระรูปพระสาวกปางลีลาปูนปั้นแบบนูนต่ำ จำนวน ๑๗ องค์ โบราณสถานภายในวัดที่ยังคงปรากฏอยู่ คือ วิหารที่อยู่ด้านหน้าเจดีย์ประธาน นอกนั้นเป็นวิหารขนาดเล็ก ๒ หลัง และเจดีย์รายอีก ๒ องค์

ปัจจุบันช้างปูนปั้นได้ผุพังไปเป็นส่วนใหญ่ เหลือที่เห็นเป็นรูปหัวช้างอยู่จำนวนไม่กี่เชือก แต่ยังคงแสดงออกถึงความงดงามของประติมากรรมสมัยสุโขทัยอย่างเต็มที่ ช้างปูนปั้นที่วัดช้างล้อมในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย มีลักษณะเด่นกว่าช้างปูนปั้นที่วัดอื่นๆ คือ ยืนเต็มตัวแยกออกจากผนัง มีขนาดสูงใหญ่เทียบเท่าหรือใหญ่กว่าช้างจริง
ขอขอบคุณ พี่ เต้ สระบุรี ผู้เรียบเรียง
ผู้เข้าชม
8949 ครั้ง
ราคา
-
สถานะ
เปิดให้บูชา
โดย
ชื่อร้าน
มะกะระ พระกรุ
ร้านค้า
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
0818306399
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
244-0-006xx-x

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
Erawanponsrithong2พล ปากน้ำแมวดำ99chathanumaantatingtating
ด้วง เกิดผลtermboonkumphaนิสสันพระเครื่องหนองคายchaithawatKumpang
BAINGERNน้ำตาลแดงPumneeNithipornมัญจาคีรี udtintin
พีช อัครกรัญระยองเปียโนbank...900eknarinjocho
PolkisanaทองธนบุรีBungสมเกียรติ23จ่าดี พระกรุSpiderman

ผู้เข้าชมขณะนี้ 1331 คน

เพิ่มข้อมูล

พระร่วงนั่งหลังลิ่ม กรุช้างล้อม(ติดรางวัลประกวดพระเครื่อง)



  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
พระร่วงนั่งหลังลิ่ม กรุช้างล้อม(ติดรางวัลประกวดพระเครื่อง)
รายละเอียด
พระร่วงนั่งหลังลิ่ม วัดช้างล้อม จ.สุโขทัย
"เก่า โบราณ ไม่ทันสมัย" เป็นคำจำกัดความของคนที่มักนิยมในความมาใหม่ แฟชั่นอินเทรนด์ หรือคนที่รักในกระแสนิยมตามสังคมภายนอก ซึ่งถ้ามองให้ลึกซึ้งแล้วนั้น ในการผลิตงานทุกสาขาใหม่ๆ นั้นได้มีการพัฒนาขึ้นจากงานเก่าที่คนรุ่นก่อนได้สร้างสรรค์ไว้แทบทั้งหมด
แล้วยิ่งถ้าได้เจาะลึกลงไปอีกจะทราบว่า กว่าที่คนรุ่นเก่านั้นจะผลิตอะไรขึ้นสักอย่างหนึ่งนั้นต้องใช้ระยะเวลาสร้างสรรค์ทบทวนอย่างประณีตเป็นที่สุด กว่าจะออกมาเป็นชิ้นงานนั้นๆ ได้ เปรียบกับวงการพระเครื่องในปัจจุบัน ที่ความนิยมในพระเครื่องนั้น ขยายวงกว้างไปอย่างมากมาย
แต่หลายๆ คนกลับเห็นว่า พระเครื่องพระกรุ พระเกจิเก่า นั้น ไม่มีคุณค่าน่าสะสม จนแทบเรียกได้ว่า พระกรุ พระเกจิเก่า ไม่ถูกกล่าวถึงในช่วงนี้ แม้กระทั่งตัวของผู้เขียนเอง ช่วงนี้ก็แทบไม่ได้สัมผัสกับพระกรุ พระเกจิยุคเก่าเลย จนกระทั่งไม่นานที่ผ่านมา ได้มีนักนิยมพระเครื่องท่านหนึ่ง ได้นำพระกรุองค์หนึ่งมาให้ผู้เขียนช่วยดู และตรวจสอบว่าแท้หรือปลอม
เมื่อผู้เขียนได้เห็นพระองค์นั้นก็ตอบไปตามจริงทันทีว่า เป็นพระแท้ ดูง่าย มีความงดงามพอประมาณ และด้วยความอยากได้ จึงขอเช่าต่อจากนักสะสมท่านนั้นทันที แต่ก็ได้รับคำปฏิเสธทันทีเหมือนกัน เพราะเป็นของที่บิดาของเขาให้มา พร้อมกำชับมาอย่างดีว่า เคยรอดจากการถูกไล่ยิง เพราะหลวงพ่อองค์นี้คุ้มครอง ต้องเก็บรักษาให้ดีด้วย
พระเครื่องที่ผู้เขียนได้ดูในวันนั้น มีขนาดที่กะทัดรัด กำลังแขวน สัดส่วนสวยงาม และถูกพบจากการที่เป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่งของกรุงสุโขทัย พระองค์นั้นคือ "พระร่วงนั่งหลังลิ่ม" วัดช้างล้อม อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย
พระร่วงนั่งหลังลิ่ม เป็นพระเครื่องขนาดกะทัดรัด มีความสูงประมาณ ๓.๕ ซม. กว้างประมาณ ๒.๕ ซม. มีพุทธลักษณะเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัยบนอาสนะแบบฐานเขียง สร้างในแบบศิลปะอู่ทองยุคต้น (อู่ทองหน้าแก่) ซึ่งแสดงออกถึงความเคร่งขรึม สงบนิ่ง และมีมิติสัดส่วนขององค์พระอย่างชัดเจน โดยเป็นที่ยกย่องอยู่ประจำว่า ศิลปะอู่ทองยุคต้นนั้นมีความงดงามแบบคลาสสิกมากยุคหนึ่งของไทย ทำให้รูปลักษณะของพระร่วงนั่งหลังลิ่มนั้น เป็นพระเครื่องที่มีมิติความงดงามคลาสสิกมาก
ในด้านหลังของพระร่วงนั่งหลังลิ่มนั้นจะปรากฏเป็นร่องลิ่มกดลึกลงไปในองค์พระ อันเป็นที่มาของชื่อ "พระร่วงนั่งหลังลิ่ม" และจุดสังเกตที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งนั้น นอกจะปรากฏเป็นร่องลึกให้เห็นแล้วนั้น ยังปรากฏรอยทิวยาววิ่งเป็นแนวตามส่วนสูงพระปรากฏให้เห็นชัด จึงสันนิษฐานได้แน่ว่า แม่พิมพ์ด้านหลังที่ทำให้เกิดร่องลิ่มนั้น น่าจะเกิดจากการแกะแม่พิมพ์จากไม้ จึงปรากฏร่องรอยทิวไม้ให้เห็นอย่างชัดเจน
พระร่วงหลังลิ่มนี้ นอกจากจะพบแบบที่หลังเป็นร่องลิ่มแล้วนั้น ยังพบที่ด้านหลังเป็นแบบเรียบๆ อีกด้วย เราเรียกว่า "พระร่วงนั่งหลังตัน" พระทั้งสองแบบนี้ เราพบว่าสร้างจากเนื้อชินเงินเพียงเนื้อเดียว
พระร่วงนั่งหลังลิ่มนี้ เป็นหนึ่งในพระกรุ พระเก่า ที่มีขนาดและศิลปะที่พอเหมาะและงดงามมาก พร้อมทั้งพุทธคุณที่ปรากฏให้พบเห็น หรือเล่าสู่กันฟังอย่างมากมาย ทั้งพุทธคุณเด่นดังทางเมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี และแคล้วคลาด ปลอดภัย จนทำให้ในปัจจุบันนี้โอกาสที่จะพบเห็น พระร่วงนั่งหลังลิ่มสักองค์หนึ่ง ต้องใช้ระยะเวลาที่นานมากเลยทีเดียว ปัจจุบันเป็นพระที่หายาก สวยๆ สนนราคาอยู่ที่หลักแสนต้นๆ แต่ก็รับรองเลยได้ว่าคุ้มค่าที่ได้เจออย่างแน่นอนครับ
ช้างล้อมเจดีย์

วัดช้างล้อม เป็นโบราณสถานสำคัญ ตั้งอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย มีเจดีย์ทรงลังกาที่ตั้งอยู่บนฐานประทักษิณรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีช้างปูนปั้นเต็มตัวล้อมรอบ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อโดยรอบฐานทั้ง ๔ ด้าน รวม ๓๙ เชือก หมายถึง โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ซึ่งเป็นธรรมอันเป็นเครื่องหมายการตรัสรู้ ประกอบกับวิมุตติ ๒ ประการ
เจดีย์ประธานทรงลังกาขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนฐานประทักษิณรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกันหลายชั้น มีทางเดินเป็นบันไดขึ้นไปยังชั้นบน โดยรอบเจดีย์มีช้างปูนปั้นเต็มตัวประดับโดยรอบฐานทั้ง ๔ ด้าน ด้านละ ๙ เชือก (ยกเว้นด้านหนึ่งซึ่งเป็นบันไดทางขึ้นมีเพียง ๘ เชือก) และที่มุมมีช้างขนาดใหญ่ประดับอีก ๔ เชือก รวมเป็น ๓๙ เชือก ช้างเชือกใหญ่ที่อยู่มุมเจดีย์ เป็นช้างทรงเครื่อง มีลวดลายปูนปั้นประดับที่คอ และข้อเท้าสวยงามกว่าช้างที่ฐานสี่เหลี่ยม ระหว่างช้างปูนปั้นที่ฐานนั้นจะมีเสาประทีปศิลาแลงสลับเป็นระยะ ด้านหน้าช้างแต่ละเชือกจะมีพุ่มดอกบัวตูมปูนปั้นวางตั้งอยู่
ปูนปั้นที่วัดช้างล้อมเมืองศรีสัชนาลัยมีลักษณะเด่นกว่าช้างปูนปั้นที่วัดอื่นๆ คือ ยืนเต็มตัว แยกออกจากผนัง มีขนาดสูงใหญ่กว่าช้างจริง นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่า วัดช้างล้อมนี้น่าจะเป็นวัดเดียวกันที่กล่าวในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่า ใน พ.ศ.๑๘๙๒ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชให้ขุดเอาพระธาตุขึ้นมาบูชา และเฉลิมฉลอง หลังจากนั้นจึงฝังลงกลางเมืองศรีสัชนาลัย และก่อพระเจดีย์ทับลงไป ด้านหน้าเจดีย์ประธานมีบันไดขึ้นสู่ลานประทักษิณ เหนือฐานประทักษิณมีซุ้มพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย ๒๐ ซุ้ม แต่คงเหลือเพียงองค์เดียวด้านทิศเหนือ เหนือบริเวณองค์ระฆังขึ้นไปเป็นบัลลังก์ก้านฉัตร ประดับด้วยพระรูปพระสาวกปางลีลาปูนปั้นแบบนูนต่ำ จำนวน ๑๗ องค์ โบราณสถานภายในวัดที่ยังคงปรากฏอยู่ คือ วิหารที่อยู่ด้านหน้าเจดีย์ประธาน นอกนั้นเป็นวิหารขนาดเล็ก ๒ หลัง และเจดีย์รายอีก ๒ องค์

ปัจจุบันช้างปูนปั้นได้ผุพังไปเป็นส่วนใหญ่ เหลือที่เห็นเป็นรูปหัวช้างอยู่จำนวนไม่กี่เชือก แต่ยังคงแสดงออกถึงความงดงามของประติมากรรมสมัยสุโขทัยอย่างเต็มที่ ช้างปูนปั้นที่วัดช้างล้อมในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย มีลักษณะเด่นกว่าช้างปูนปั้นที่วัดอื่นๆ คือ ยืนเต็มตัวแยกออกจากผนัง มีขนาดสูงใหญ่เทียบเท่าหรือใหญ่กว่าช้างจริง
ขอขอบคุณ พี่ เต้ สระบุรี ผู้เรียบเรียง
ราคาปัจจุบัน
-
จำนวนผู้เข้าชม
9133 ครั้ง
สถานะ
เปิดให้บูชา
โดย
ชื่อร้าน
มะกะระ พระกรุ
URL
เบอร์โทรศัพท์
0813116011
ID LINE
0818306399
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกรุงเทพ / 244-0-006xx-x




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี